top of page
ค้นหา

Equalization การเคลียร์หู


" การเคลียร์หู "

ถือเป็นสิ่งสำคัญและปัญหาหลักของการดำน้ำ ไม่ว่าจะเป็น Scuba หรือ Freediving มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน ต้องใช้ความเข้าใจและการฝึกฝนเพื่อที่จะพัฒนาทักษะการเคลียร์หูให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ว่ากันว่าการเคลียร์หูนั้นต้อง "FIRST LEARN OUT OF THE WATER" คือต้องเรียนรู้และฝึกฝนก่อนที่จะลงน้ำซะอีก มาดูกันดีกว่าว่าการเคลียร์หูนั้นคืออะไร และมีรายละเอียดอะไรบ้างที่เราควรรู้....



แรงดัน :

ความดัน คือแรงกดที่ถูกบีบอัดซึ่งมีหน่วยแทนค่าเป็น ATM หรือ BAR จากตัวอย่างในรูป ในน้ำทะเลค่าความดันจะเปลี่ยนแปลง 1 atm/bar ทุกๆ10เมตร ยิ่งลงลึกมากขึ้นก็จะยิ่งมีแรงดันมากขึ้นส่งผลให้วัตถุถูกบีบอัดด้วยแรงดันที่กดเข้ามา เช่นนำบอลลูนที่อัดเต็มไปด้วยอากาศปริมาตร1 ลิตรลงไปใต้ระดับนำทะเลที่มีความลึกมากขึ้นๆเรื่อยๆ ปริมาตรของบอลลูนก็จะมีขนาดที่เล็กลงไปเรื่อยๆ ลงไปที่ความลึก 30 เมตร มีแรงดัน 4 bar ปริมาตรของบอลลูนจะถูกบีบเล็กลงเหลือเพียง1/4และความหนาแน่นของอากาศด้านในก็จะยิ่งหนาแน่นมากขึ้นๆเรื่อยๆ เมื่อปล่อยบอลลูนกลับขึ้นบนผิวน้ำ ปริมาตรของบอลลูนก็จะค่อยๆขยายใหญ่ขึ้นตามแรงกดที่น้อยลงและเมื่อกลับถึงผิวน้ำ บอลลูนก็จะขยายปริมาตรเท่าเดิม



การปรับแรงดัน :

เมื่อแรงดันภายนอกมากกว่าแรงดันภายในจะส่งผลให้แก้วหูถูกแรงอัดเข้ามา ทำให้เกิดอาการหูอื้อ เราจึงต้องปรับแรงดันของทั้งแรงดันภายนอก และแรงดันภายในให้เท่ากันเพื่อให้อาการหูอื้อนั้นหายไป เรียกว่า การปรับแรงดันในช่องหูหรือการเคลียร์หูนั่นเอง



หูคนเราแบ่งเป็นสามส่วนคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน ส่วนที่ได้รับแรงดันโดยตรงก็คือ แก้วหู(Ear drum)ที่อยู่ตรงหูชั้นกลางนั่นเอง



การเคลียร์หูนั้นใช้กล้ามเนื้อและอวัยวะหลายส่วน ไม่ใช่แค่การบีบจมูกเป่าลมเฉยๆเท่านั้น มาทำความเข้าใจกันว่าร่างกายเราใช้กล้ามเนื้อส่วนไหนบ้างเพื่อที่เราจะได้พัฒนาทักษะได้อย่างถูกต้องและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด 1.ท่อEustachian : เชื่อต่อระหว่างช่องหูและคอ 2.Soft Palate : เพดานอ่อน กั้นระหว่างช่องจมูกแลัช่องปาก 3.Epiglottis : ฝาปิดกล่องเสียง 4.Larynx : กล่องเสียง 5.Glottis : ช่องเส้นเสียง 6.Tongue : ลิิ้น




1. Eustachian Tube หรือท่อยูสเตเชี่ยน

ที่เชื่อมต่อระหว่างช่องหูและคอ หน้าที่หลักๆก็คือการนำพาแรงดันส่งไปที่หูชั้นกลางนั่นเอง ซึ่งถ้าหากเราเป็นหวัด คัดจมูก มีอาการภูมิแพ้ อาจส่งผลให้มีเมือกในท่อยูสเตเชี่ยนมาก หรือท่อตีบตันทำให้เป็นปัญหากับการเคลียร์หูเพราะแรงดันไม่สามารถผ่านเข้าไปได้เต็มที่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมวันที่เรารู้สึกเป็นหวัด หรือคัดจมูกเราจะเคลียร์หูได้ไม่ดีเท่าที่ควร 2. Soft Palate

อันนี้สำคัญมาก ตัวเพดานอ่อนนี้จะเป็นตัวกั้นระหว่างช่องจมูกและช่องปาก การที่เราจะเคลียร์หูให้อากาศผ่านเข้าไปได้ เพดานอ่อนตัวอยู่ในตำแหน่งที่เปิด ลองสังเกตดูคนที่มีปัญหาเคลียร์หูยาก ว่าเกร็งระหว่างที่ดำน้ำอยู่รึเปล่า(ทั้งfreedive/scuba) ถ้าหากเกร็งจะส่งผลให้เพดานอ่อนนี้ปิดโดยอัตโนมัติ ต่อให้ส่งแรงดันเข้าไปมากยังไงก็ไม่สามารถเคลียร์หูได้





6. Tongue

ในระหว่างที่เคลียร์หูตำแหน่งของลิ้นมีความสำคัญมากๆ ในการ"สร้างแรงดัน"เพื่อส่งไปเคลียร์ที่หูชั้นกลางนั้น เราต้องเพิ่มแรงดันในช่องปากและจมูกก่อน ตำแหน่งของลิ้น เราเรียกกันง่ายๆว่า "LOCK" (ล็อค) แต่ละตำแหน่งจะช่วยสร้างแรงดันส่งไปที่หูชั้นกลางในความลึกที่ต่างกัน โดยไล่จาก P,T,K,H ไปความลึกที่มากขึ้นเรื่อยๆ



ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า เวลาที่เรา "เคลียร์หูไม่ออก เคลียร์หูไม่ได้" ปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอะไร



ประเภทของการเคลียร์หู ในการดำ Freedive

โดยส่วนใหญ่นักดำน้ำมือใหม่ที่ได้ลองเรียนฟรีไดร์คลาสเริ่มต้น จะได้ฝึกการเคลียร์หูแบบ Valsava ซึ่งทำได้ง่าย แต่หากต้องการพัฒนาทักษะเพื่อลงระดับความลึกที่มากขึ้น ในคอร์สถัดๆไปเราจะเริ่มเรียนรู้เรื่องของการเคลียร์หูแบบ Frenzel ซึ่งใช้กล้ามเนื้อกลุ่มเล็กกว่า และต้องได้รับการฝึกฝน เพื่อช่วยให้เราเคลียร์หูที่ระดับความลึกมากขึ้นได้



แล้วช่องว่างอากาศอื่นๆ มีตรงจุดไหนอีกบ้าง


วันนี้เรามี Equalization Tips หรือ เทคนิคในการเคลียร์หู มาฝากทุกคนกันด้วย มาดูกันเลยว่าข้อแนะนำ 5 ข้อในการเคลียร์หูมีอะไรบ้าง


การเคลียร์หูเป็นส่วนหนึ่งของการดำฟรีไดร์ เพราะยิ่งเราลงความลึกมากเท่าไหร่ การปรับแรงดันในช่องหูก็จำเป็นมากเท่านั้น ข้อสำคัญคือหากเราดำลงไปแล้วเคลียร์หูไม่ออก รู้สึกเจ็บ อย่าพยายามฝืนลงไปเรื่อยๆ เพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในช่องหู จนต้องพักดำน้ำกันไปยาวๆ


สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็มีสรุปขั้นตอนการเคลียร์หูแบบเข้าใจง่าย สั้นๆ ไว้ให้ทุกคนที่สนใจได้ลองนำไปฝึกฝน/ปฏิบัติกันดูค่ะ


bottom of page